ในการจะทำร้านอาหารนั้นเจ้าของร้านส่วนใหญ่จะสนใจแต่ค่าใช้จ่ายพวก ค่าตกแต่งก่อสร้าง ค่าอุปกรณ์ ค่าเครื่องครัวจานชาม รวมถึงค่าใช้จ่ายพวกงานระบบต่างๆทั้งระบบ CCTV ระบบ POS หรือระบบ Fire alarm system หากอยู่ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งเหล่านี้เราเรียกโดยรวมว่า Hard Costs หรือค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้
.
แต่มีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า Soft costs หรือ ค่าใช้จ่ายที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งมักเป็นส่วนที่เจ้าของร้านมักหลงลืมหรือไม่ได้ให้ความสำคัญนึกว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มาก แต่หลายๆครั้งค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจมากขึ้น 30-40% ของเงินลงทุนทั้งหมดเลยก็เป็นได้
.
ซึ่งหากไม่มีการเผื่อเงินส่วนนี้หรือวางแผนให้ดีอาจทำให้เงินลงทุนที่คิดไว้นตอนแรกไม่เพียงพอและเกิดการ Over investment ขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดของร้านอาหารมักตกม้าตายที่ค่าใช้จ่าย Soft Costs นี้
.
แล้วค่าใช้จ่าย Soft Costs มันมีอะไรบ้าง?
.
1. ค่าบริการที่ปรึกษาต่างๆ (Professional fees)
ค่าใช้จ่ายพวกนี้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงานบริการที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะเป็นหลักเช่น ค่าออกแบบตกแต่ง ค่าออกแบบกราฟฟิก ค่าที่ปรึกษาร้าน หรือ ค่าถ่ายภาพเมนู ฯลฯ
.
ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจเริ่มตั้งแต่ราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแล้วแต่รูปแบบร้าน ความยากง่ายและชื่อเสียงของผู้ถูกว่าจ้าง
.
2. เงินมัดจำพื้นที่ (Deposit)
หากคุณอยู่นอกห้างคุณอาจมีค่าเงินมัดจำพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 3 เดือน แต่หากเป็นในห้างหรือในคอมมูนิตี้มอลล์ก็จะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน เหล่านี้ยังไม่รวมเงินที่คุณต้องจ่ายค่าเช่าในต้นเดือนหรือที่เรียกว่าจ่ายก่อนอยู่อีก
.
นั่นหมายถึงคุณควรจะเตรียมเงินก้อนนี้ไว้อย่างน้อย 7 เดือนของค่าเช่าร้านคุณ
.
3. ค่าแฟรนไชส์ (Franchise fee)
หากคุณเริ่มต้นร้านเองก็โชคดีหน่อยไมต้องมีเสียค่าแฟรนไชส์ให้กับใคร แต่หากคุณไปซื้อแฟนไชส์มาไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไทยหรือต่างประเทศ คุณจะโดนค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าแฟรนไชส์ซึ่งจะถูกหรือแพงก็แล้วแต่ข้อกำหนดของแฟรนไชส์นั้น ๆ
.
อาจมีตั้งแต่ราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักล้าน หรือหากคุณต้องการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ราคาก็อาจไปถึง 5-10 ล้านบาทเลยก็ได้
.
4. ค่าขออนุญาตต่างๆ (Permission)
หากคุณเช่าพื้นที่ในห้างหรือในคอมมูนิตี้มอลล์ ค่าใช้จ่ายพวกค่าขออนุญาตต่าง ๆ ก็จะน้อยหน่อย แต่หากคุณจะต้องก่อสร้างร้านบนพื้นที่เปล่า หรือปรับปรุงร้านในตึกแถว จำเป็นที่คุณจะต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อสร้างกับทางเทศบาลหรือสำนักงานเขต ซึ่งปกติค่าขออนุญาตของทางราชการนั้นไม่ได้สูงมากนัก อาจแค่หลักพันเท่านั้น
.
แต่หากอาคารที่คุณจะทำนั้นขัดต่อกฏหมายหรือไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างถูกต้องตามจุดประสงค์ที่คุณจะทำแล้ว ก็เตรียมใจเผื่อค่าใช้จ่ายใต้โต๊ะไว้ได้เลยซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนต้นๆแต่จะมากไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่และขนาดของร้านคุณ
.
5. ค่าการตลาด (Marketing fee)
การทำการตลาดนั้นไม่ใช่การเริ่มเมื่อร้านอาหารเปิดแล้ว แต่คุณควรจะต้องเริ่มทำการตลาดตั้งแต่คุณเริ่มมีชื่อหรือโลโก้แล้วด้วยซ้ำ
.
.
SpaceCloud สามารถใช้งานได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สนใจจองพื้นที่เพื่อเริ่มขายของปังๆได้ที่ https://app.getspacecloud.co/
หรือสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คอมเม้นท์หรือทัก inbox มาที่ https://m.me/getspacecloud ได้เลย